top of page

สรุป วิธีนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเบื้องต้น ที่มือใหม่ควรรู้

ผู้ประกอบการหญิงกำลังตรวจสินค้านำเข้า

การค้าขายระหว่างประเทศกลายเป็นธุรกิจที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ อีกทั้งสินค้าจากต่างประเทศยังมีบทบาทสำคัญที่ช่วยเติมเต็มความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน ซึ่งการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ นอกจากจะช่วยเพิ่มโอกาสในการขยายธุรกิจให้เติบโตแล้ว ยังเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย


แต่ถึงแม้ การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ จะดูมีความซับซ้อนและท้าทาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้เริ่มต้นทำธุรกิจนำเข้า/ส่งออก แต่หากได้ศึกษารายละเอียดการดำเนินการอย่างครอบคลุม รวมถึงหาผู้ช่วยในการนำเข้าสินค้าที่มีความเชี่ยวชาญ ก็จะทำให้ธุรกิจของคุณทำงานได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น ในบทความนี้ จะมาแนะนำวิธีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ตั้งแต่เอกสารที่ต้องจัดเตรียม รวมถึงขั้นตอนทางพิธีการศุลกากร และการจ่ายภาษีนำเข้า ติดตามกันได้เลย


ขั้นตอนการนำเข้าสินค้าศุลกากรไทย

การนำเข้าสินค้าศุลกากรไทย หมายถึง กระบวนการนำสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทย โดยต้องผ่านพิธีการศุลกากร ซึ่งผู้ประกอบการหรือบุคคลที่ต้องการนำเข้าสินค้า จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยมีวิธีนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ดังนี้


1. การรายงานยานพาหนะเข้า

ขั้นตอนแรกที่จำเป็นสำหรับการนำเข้าสินค้าผ่านศุลกากรทางบก คือการแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับยานพาหนะและสินค้าที่นำเข้า เพื่อเตรียมการสำหรับขั้นตอนพิธีการศุลกากรต่อไป โดยผู้รับผิดชอบการขนส่งสินค้าจะต้องเป็นผู้ดำเนินการ ดังนี้ 


รายละเอียดขั้นตอน

  1. ผู้รับผิดชอบควบคุมการขนส่งสินค้า ส่งรายงานยานพาหนะเข้าในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร

  2. ระบบจะออกเลขที่รับรายงานยานพาหนะ (Received Control Number)

  3. เจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ส่งมา

  4. กรณีข้อมูลถูกต้อง ระบบจะส่งข้อมูลไปยังด่านศุลกากรที่รับผิดชอบ เพื่อเตรียมสำหรับขั้นตอนการยื่นใบขนสินค้าขาเข้าต่อไป 


2. การยื่นเอกสารใบขนสินค้าขาเข้า

สำหรับการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ผู้นำเข้าสินค้าจะต้องกรอกข้อมูลในใบขนสินค้าขาเข้าให้ครบถ้วนถูกต้อง และยื่นพร้อมเอกสารประกอบอื่น ๆ ต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร


เอกสารสำคัญที่ต้องจัดเตรียม

  • บัญชีราคาสินค้า (Invoice)

  • บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ (Packing List)

  • ใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading)

  • ใบแจ้งยอดเบี้ยประกัน (Insurance Premium Invoice)

  • ใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาต กรณีเป็นของต้องจำกัดหรือสินค้าที่ต้องควบคุมการนำเข้า

  • หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin) (กรณีขอลดอัตราอากร)

  • เอกสารอื่น ๆ เช่น เอกสารแสดงส่วนผสม คุณลักษณะและการใช้งานของสินค้า


เมื่อศุลกากรได้รับข้อมูล จะส่งต่อให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจสอบข้อมูลในใบขนสินค้าขาเข้า โดยจะต้องมีเอกสารประกอบ และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง หากมีข้อมูลผิด หรือเอกสารไม่ถูกต้อง เจ้าหน้าที่อาจส่งคืนให้ผู้นำเข้ามาแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องอีกครั้ง ก่อนจะออกเลขที่ใบขนสินค้าให้


3. เจ้าหน้าที่แจ้งรายละเอียด เงื่อนไข ภาษีอากร

เมื่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรออกเลขที่ใบขนสินค้าให้ผู้นำเข้าสินค้าแล้ว จะดำเนินการแจ้งข้อมูล รายละเอียด และเงื่อนไขต่าง ๆ เกี่ยวกับการนำเข้าสินค้า รวมถึงการเสียภาษีอากร โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้


  1. ใบขนสินค้าขาเข้าไม่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Green Line) สำหรับใบขนสินค้าประเภทนี้ ผู้นำเข้าสามารถนำใบขนสินค้าขาเข้าไปชำระค่าภาษีอากรและรับการตรวจปล่อยสินค้าได้

  2. ใบขนสินค้าขาเข้าต้องตรวจสอบพิธีการ (Red Line) สำหรับใบขนสินค้าประเภทนี้ ผู้นำเข้าต้องนำสินค้าไปผ่านพิธีการตรวจสอบเพิ่มเติม เมื่อผ่านพิธีการตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว สามารถนำใบขนสินค้าขาเข้าไปชำระภาษีอากร และนำสินค้าออกจากเขตศุลกากรได้


4. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบและปล่อยสินค้า

เมื่อผู้นำเข้าได้ยื่นใบขนสินค้าพร้อมชำระค่าภาษีอากรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่จะเข้ามาตรวจสอบข้อมูลเพื่อความถูกต้องอีกครั้ง ก่อนจะปล่อยสินค้าไปยังที่อยู่ของผู้นำเข้าที่ได้ระบุไว้


ขั้นตอนการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศข้างต้น เป็นเพียงภาพรวมคร่าว ๆ ผู้ประกอบการทุกคนสามารถเข้าตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อกำหนดและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง จากเว็บไซต์ของกรมศุลกากร https://www.customs.go.th/


พนักงานกำลังเตรียมการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ

แนะนำช่องทางการชำระค่าภาษีอากร

ผู้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ สามารถชำระค่าภาษีอากรและค่าธรรมเนียมศุลกากรได้ 3 ช่องทางดังนี้


  1. ชำระด้วยตนเอง : ดำเนินการได้ที่หน่วยรับชำระเงินทุกแห่งของกรมศุลกากร ทั้งในรูปแบบเงินสด บัตรภาษี บัตรเดบิต บัตรเครดิต และเช็ค

  2. ชำระในระบบ e-Payment : การชำระเงินค่าภาษีอากรพร้อมกับการส่งข้อมูลใบขนสินค้า โดยการตัดยอดบัญชีธนาคารของผู้นำของเข้า ที่ระบุไว้ในทะเบียนผู้ผ่านพิธีการศุลกากร

  3. ชำระในระบบ e-Bill Payment : การชำระผ่านเอกสารของกรมศุลกากร ที่มี QR Code หรือ Bar Code หรือเลขอ้างอิงตามที่ปรากฏในเอกสารนั้น ๆ ณ เคาน์เตอร์ของธนาคาร, Internet Banking, ATM, ช่องทางการรับชำระเงินอื่น ๆ ของธนาคาร หรือผ่านตัวแทนรับชำระเงิน (เคาน์เตอร์เซอร์วิสของ 7-11 และ บิ๊กซี)


หากต้องการหาผู้ช่วยในการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศอย่างครบวงจร Ezy Express เราคือบริษัทนำเข้าสินค้า ที่สามารถช่วยดูแลเรื่องศุลกากรได้อย่างครบจบ พร้อมบริการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศแบบครบวงจร ระยะเวลา 5-7 วันทำการ มี Tracking Number เพื่อติดตามพัสดุ มั่นใจได้ว่าบริการของเราจะคุ้มค่าที่สุด ด้วยทีมงานที่มากประสบการณ์


สามารถเช็กราคาเบื้องต้นได้ที่เว็บไซต์ของเรา หรือหากต้องการติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสอบถามผ่านสายด่วน Ezy Express ได้ที่เบอร์ 061-398-3300  หรือ LINE Official @ezyexpress


ข้อมูลอ้างอิง

Comments


bottom of page