top of page

7 ขั้นตอนการนำเข้าสินค้าที่ต้องศึกษา ก่อนวางแผนขยายธุรกิจ !

การขยายธุรกิจให้เติบโตในยุคปัจจุบัน จำเป็นต้องมีการนำสินค้าใหม่ ๆ เข้าสู่ตลาด เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้สัมผัสสินค้าที่มีคุณภาพและหลากหลายยิ่งขึ้น อีกทั้งการนำเข้าสินค้ายังเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่ธุรกิจหลายแห่งเลือกใช้ เพื่อเพิ่มตัวเลือกให้แก่ผู้บริโภค ทั้งยังเป็นการนำเสนอสินค้าที่มีความเฉพาะเจาะจงในตลาดเฉพาะกลุ่ม และแม้ว่าการทำธุรกิจนำเข้าอาจดูซับซ้อน แต่หากเข้าใจขั้นตอนการนำเข้าอย่างละเอียด ก็สามารถทำได้ไม่ยาก !


นักธุรกิจสาวกำลังตรวจสอบสต๊อกจากการนำเข้าสินค้า

วิธีนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ


1. วางแผนและวิจัยตลาด


ก่อนการนำเข้าสินค้า ควรเริ่มต้นด้วยการวางแผนอย่างรอบคอบและทำการวิจัยตลาดเพื่อให้เข้าใจถึงความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ทั้งในแง่ของความต้องการของผู้บริโภค คู่แข่งในตลาด และแนวโน้มของอุตสาหกรรม โดยควรพิจารณาร่วมกับรายละเอียดอื่น เช่น ต้นทุนการนำเข้า ภาษี และการขนส่งสินค้า เพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถแข่งขันกับคู่แข่งในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ


2. ติดต่อผู้ผลิต หรือซัพพลายเออร์ เพื่อทำสัญญาซื้อขาย


เมื่อเลือกสินค้าที่ต้องการนำเข้าได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปในการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ คือการติดต่อโรงงานผู้ผลิต หรือซัพพลายเออร์ในต่างประเทศเพื่อทำสัญญาซื้อขาย โดยตรวจสอบความน่าเชื่อถือของซัพพลายเออร์และทำการพูดคุยเกี่ยวกับรายละเอียดของการจัดส่งสินค้า การชำระเงิน และเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน ซึ่งผู้ประกอบการควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้า เพื่อทำสัญญาซื้อขายให้รัดกุม ทั้งยังเป็นการป้องกันการเสียเปรียบที่อาจเกิดจากความไม่รู้


3. ทำพิธีการศุลกากรขาออก


ก่อนที่สินค้าจะถูกส่งออกจากประเทศต้นทาง ซัพพลายเออร์ หรือตัวแทนขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (Freight Forwarder) จำเป็นต้องทำพิธีการศุลกากรขาออก เพื่อรับรองว่าการนำเข้าสินค้าเป็นไปอย่างถูกต้องและได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของประเทศต้นทางอย่างครบถ้วน โดยกระบวนการนี้จะรวมถึงการเตรียมเอกสาร เช่น ใบขนส่งสินค้าและเอกสารการขนส่งที่ต้องใช้เพื่อยื่นให้แก่เจ้าหน้าที่ศุลกากร


4. เตรียมเอกสารสำหรับการนำเข้า


ในปัจจุบันสามารถดำเนินการภายใต้ระบบการนำเข้าแบบอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ตโดยไม่ต้องยื่นเอกสารที่เป็นกระดาษ ซึ่งประกอบด้วย


  • ใบขนสินค้าขาเข้า

  • ใบตราส่งสินค้า

  • บัญชีราคาสินค้า

  • บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ

  • ใบอนุญาต หรือหนังสืออนุญาตสำหรับสินค้าควบคุมการนำเข้า

  • ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (กรณีขอลดอัตราอากร)

  • เอกสารอื่น ๆ เช่น แค็ดตาล็อก เอกสารแสดงส่วนผสม


5. ตรวจสอบตามเงื่อนไขชำระภาษีอากรขาเข้า


เมื่อสินค้าถึงประเทศไทย จะต้องมีการตรวจสอบพิสูจน์สินค้าตามเงื่อนไขของกรมศุลกากรอย่างละเอียด ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่


  • Green Line สินค้าที่ไม่ต้องตรวจสอบพิธีการ สามารถนำใบขนสินค้าขาเข้าไปชำระภาษีอากร และวางประกันที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับสินค้าได้ทันที โดยสามารถเลือกชำระได้ที่กรมศุลกากร ชำระผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือจะชำระที่ธนาคารก็ได้

  • Red Line สินค้าที่ต้องผ่านการตรวจสอบพิธีการก่อนชำระภาษี โดยจะต้องนำใบขนสินค้าไปติดต่อกับหน่วยงานประเมินอากรของท่าที่นำเข้าสินค้า



พนักงานกำลังตรวจสอบของในขั้นตอนการนำเข้าสินค้า

6. การตรวจสอบและการปล่อยสินค้า


หลังจากผ่านการตรวจสอบพิธีการแล้ว สินค้าจะถูกส่งไปยังคลังสินค้าเพื่อตรวจสอบเพิ่มเติม เมื่อเอกสารครบถ้วนและถูกต้อง สินค้าจะได้รับการปล่อยออกจากอารักขาศุลกากร


7. การกระจายสินค้า


เมื่อสินค้าถูกปล่อยจากศุลกากรแล้ว ขั้นตอนสุดท้าย คือการกระจายสินค้าไปยังลูกค้า หรือคู่ค้าในประเทศ โดยการจัดส่งจะขึ้นอยู่กับข้อตกลง ซึ่งควรเลือกบริษัทจัดส่งที่มีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้าจะถึงปลายทางในสภาพสมบูรณ์


ของต้องห้ามนำเข้า


ประเทศไทยมีกฎหมายควบคุมการนำเข้าสินค้าหลายประเภท เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และความมั่นคงของประเทศ ตัวอย่างสินค้าที่ห้ามนำเข้า ได้แก่


  • สินค้าที่ละเมิดลิขสิทธิ์ โดยการทำซ้ำ ดัดแปลง ลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้า หรือละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา จากงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น เช่น แบรนด์ปลอม

  • สินค้าที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น อาหารและยาที่ไม่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือเครื่องสำอางและเครื่องใช้ที่มีสารเคมีอันตราย

  • สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ เช่น สื่อลามกอนาจารที่ขัดต่อศีลธรรม สินค้าที่ใช้เป็นเครื่องมือในกิจกรรมผิดกฎหมาย

  • สินค้าที่ขัดต่อความมั่นคงของประเทศ เช่น สิ่งพิมพ์ หรือสื่อที่มีเนื้อหาหมิ่นประมาทและสร้างความไม่สงบ

  • ดังนั้น ก่อนนำเข้าสินค้าใด ๆ ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าสินค้าเหล่านั้นได้รับอนุญาตให้เข้ามาในประเทศเรียบร้อยแล้ว



การคำนวณภาษีนำเข้า


การนำเข้าสินค้าไม่เพียงแต่ต้องตรวจสอบเอกสารและพิธีการศุลกากรเท่านั้น แต่ยังต้องมีการคำนวณภาษีที่ต้องชำระใน


การนำเข้าด้วย เพื่อนำมาพิจารณาประกอบกับการตั้งราคาสินค้า โดยหลักการคำนวณภาษีจะประกอบด้วย


  • อากรขาเข้า คำนวณจากมูลค่ารวม CIF (Cost, Insurance, Freight) ของสินค้า คูณ (X) กับอัตราอากรขาเข้า ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า (5%, 10%, 20% หรือ 30%)

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) คำนวณจาก (มูลค่ารวม CIF + อากรขาเข้า) คูณ (X) กับอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มปัจจุบัน

  • มูลค่ารวมภาษีขาเข้าที่ต้องชำระ รวมอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อคำนวณภาษีทั้งหมดที่ต้องชำระ


จะเห็นได้ว่าขั้นตอนการนำเข้าสินค้าค่อนข้างมีความซับซ้อน ซึ่งต้องอาศัยความเชี่ยวชาญอย่างมาก ขอแนะนำ Ezy Express บริษัทนำเข้าสินค้าที่ให้บริการส่งพัสดุไปต่างประเทศครบวงจร เราพร้อมดูแลตั้งแต่เริ่มต้น ทั้งในด้านเอกสารและการให้คำปรึกษา เพื่อส่งมอบสินค้าให้ถึงมือลูกค้าอย่างปลอดภัยได้ทั่วโลก ในราคามิตรภาพ ให้บริการโดยทีมงานที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 25 ปี


หากสนใจบริการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ หรือต้องการส่งของกลับไทย สามารถคำนวณค่าขนส่งกลับไทยด้วยตัวเองได้ง่าย ๆ ที่หน้าเว็บไซต์ของเรา หรือปรึกษาเจ้าหน้าที่เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมผ่านสายด่วน Ezy Express ได้ที่เบอร์ 061-398-3300  หรือ LINE Official @ezyexpress


ข้อมูลอ้างอิง

การค้าระหว่างประเทศ - การนำเข้า (IMPORT). สืบค้นเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2567 จาก https://bizportal.go.th/th/Home/Article/24


Kommentit


bottom of page