top of page

2 สิ่งที่คนไทยมักโดนหลอก จากมิชฉาชีพโดยการนำเข้าส่งออก

Updated: Jun 5


สื่งที่คนไทยมักโดนหลอก

หลายปีที่ผ่านนี้ มีคนไทยไม่น้อยที่ได้เจอกับมิจฉาชีพ ที่ติดต่อเข้ามาเพื่อหลอกเอาเงินและทรัพย์สิน บ้างก็มีเอกสารมาอ้าง ถึงกับอ้างชื่อธนาคารกันเลยทีเดียว เรามาดูกันครับ ว่ามิจฉาชีพเข้ามาในรูปแบบไหนบ้าง และจะสังเกตุอย่างไรว่าเป็นกลลวงของมิจฉาชีพ


มิจฉาชีพออนไลน์ หลอกให้โอน

1. ในแบบแรกนี้คนไทยส่วนใหญ่โดนเยอะ และหลงเชื่อเยอะนั้นก็คือ มิจฉาชีพที่มาในรูปของเพื่อนฝรั่ง หรือแฟน ที่รู้จักกันผ่านแชท ใช้คำหวานหลอกให้ตายใจ อาจใช้เวลา 20 วัน ถึงสองเดือนเพื่อให้เชื่อใจกัน หลังจากนั้น มิจฉาชีพก็จะเริ่มกระบวนการหลอกลวง

โดยขั้นแรก บอกเหยื่อให้ทราบว่าตนจะส่งพัสดุมีมูลค่ามากไปให้เป็นของขวัญผ่านบริษัตโลจิสติกส์หรือสายการบินต่าง ๆ มีมูลค่าตั้งแต่หนึ่งแสนบาทจนถึงหนึ่งล้านบาท จากนั้นจึงส่งหลักฐานการส่งให้เหยื่อดู (ซึ่งทุกอันจะไม่สามารถติดตามได้ในระบบไหนเลยครับ) โดยหลอกลวงว่าของถูกส่งไปแล้ว แต่โดนภาษี หรือมีค่าขนส่งข้างชำระเป็นจำนวนเงินตั้งแต่ประมาณห้าหมื่นบาทจนถึงสองแสนบาท โดยเหยื่อต้องชำระก่อน จึงจะได้ของ ซึ่งบางครั้งหากเราสังเกตให้ดี

ชื่อบัญชีที่โอนไปก็เป็นชื่อเอเชีย หรือ เพื่อนบ้านเรานี่เอง


ตัวอย่างเอกสารที่ใช้หลอกลวง :

airway bill

world cargo

สองรูปตัวอย่างด้านบน ตัวหนังสือทั้งที่อยู่ผู้รับ-ผู้ส่ง วันที่ทำการจัดส่งและวันที่สินค้าถึงปลายทาง เหมือนถูกตัดแปะเพื่อใช้ในการหลอกลวง

airway bill 02

รูปนี้ของจัดส่งมาไทย แต่ Destination ในใบยังเป็น India อยู่เลย แค่ดูก็ไม่น่าเชื่อแล้ว

invoice

มาในรูปของใบแจ้งหนี้ก็มีครับ

และอีกหลาย ๆ แบบครับ หากมาในรูปแบบใบแจ้งหนี้อาจมีการเปลี่ยนสี เปลี่ยนโลโก้ เปลี่ยนแบบนิดหน่อย

(ดูเพิ่มเติมได้ที่นี่) ซึ่งกรมศุลกากรได้ออกประกาศเตือนเรื่องนี้เมื่อปีที่แล้ว (ดูเพิ่มเติม ประกาศกรมศุลกากร ข้อ 2) แต่ก็ยังมีผู้เสียหายเพิ่มขึ้นอยู่เรื่อย ๆ


..ทั้งนี้ทั้งนั้น อยากให้ตั้งคำถามและศึกษาข้อมูลก่อนนะครับ เช่น หากคนรู้จักจัดส่งพัสดุ หรือสิ่งของที่มีมูลค่ามาก ๆ

มาจริง ทำไมถึงไม่จัดส่งมากับไปรษณีย์ของประเทศต้นทาง หรือบริษัทที่สามารถติดตามพัสดุได้, ทำไมภาษีที่ประเทศปลายทาง ซึ่งปกติจะโดนเมื่อผ่านศุลกากรขาเข้า แต่กลับโดนเมื่อส่งออก แล้วเรียกเก็บเงินกับคุณ, ซึ่งบางครั้งพัสดุมีมูลค่าเป็นล้าน แต่กลับส่งมาให้คุณแบบฟรี ๆ แค่คุยกันในแชท บางรายบอกจะจัดส่งมาแบบยังไม่ได้จ่ายค่าขนส่ง กับค่าภาษี แล้วผลักภาระนั้นให้คุณ....


หลอกให้ส่งของไปก่อน

2. แบบที่สองนี้จะมาในรูปแบบของผู้ซื้อสินค้า ซึ่งสิ่งที่หลอกลวงไปจะเป็นทรัพย์สิน โดยเหยื่อหวังว่าจะได้เงินเข้าบัญชี


วิธีการคือเข้ามาตกลงซื้อขายอย่างง่ายดาย ตามรูปตัวอย่างด้านล่าง

line chat

หลังจากตกลงกันแล้ว ทางนั้นจะส่งข้อมูลที่เขาต้องการมาให้เรากรอก ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ ธนาคาร เลขที่บัญชี และอีเมล


จากนั้นจะส่งอีเมลจากธนาคารมา ซึ่งเชื่อว่าน่าจะเป็นเมลที่ตัดต่อมา เนื้อความมีอยู่ว่า ผู้ซื้อได้โอนเงินเข้าบัญชีแล้ว แต่ธนาคารจะกักเงินไว้เพื่อรอหลักฐานการส่ง ซึ่งก็คือสลิปนั้นเอง พอมาถึงจุดนี้หลายคนจะเริ่มสงสัย และไหวตัวทัน แต่ก็มีบางคนที่เชื่ออย่างสนิทใจเช่นกัน


นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างอีกมากมาย อาจให้ส่งไปคนละที่ คนติดต่อคนละชื่อ ชื่อธนาคารต่างกัน แต่มาในรูปแบบเดียวกันครับผม (ดูเพิ่มเติมได้ที่นี่) ซึ่งกรมศุลกากรได้ออกประกาศเตือนเรื่องนี้เมื่อปีที่แล้ว


เมื่อเรารู้แล้วก็ต้องมีสติและคอยระวังไว้ มิจฉาชีพอาจมาในรูปแบบอื่น ๆ อีกในอนาคต ทางที่ดีเราควรศึกษาข้อมูลให้รอบด้านก่อนทำธุรกรรมใด ๆ นะครับ เพียงเข้าอากู๋ก็อาจจะทราบได้เลยว่าหลอกหรือจริง


Comments


bottom of page